กิจกรรม "เรื่องเล่าจากการนำองค์ความรู้ไปใช้"
ประเด็นเรื่องเล่า:ประสานงานอย่างไรถึงได้ใจ....
ผู้เล่า:นางสาวธิดารัตน์ ไชยยาสืบ วันที่:23 พ.ค.61
จากสาขาวิชา/งาน:บริหารทั่วไป คณะ/หน่วยงาน: กองพัฒนานักศึกษา
ชื่อเรื่อง:ประสานงานอย่างไรถึงได้ใจ....

เรื่องเล่าพอสังเขป(เน้นวิธีปฏิบัติ)

ในการทำงานจะมีการประสานงานกับหลายฝ่ายจะเน้นหลักการในการประสานงาน ดังนี้

1. ใช้ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นหลัก เพราะความมีน้ำใจต่อกันไว้วางใจกันจะเป็นผลให้เกิดการร่วมใจมากกว่าการใช้อำนาจหน้าที่

2.พยายามผูกมิตรตั้งแต่เริ่มต้นและป้องกันไม่ให้เกิความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกัน

3. การให้การยอมรับซึ่งกันและกัน เมื่อมีสิ่งใดที่จะช่วยเหลือแนะนำกันได้ก็ไม่ลังเล และพร้อมจะรับฟังคำแนะนำของผู้เกี่ยวข้องแม้จะไม่เห็นด้วยก็อย่างแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบ

4. เมื่อในการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือการปฏิบัติจะแจ้งให้ทราบโดยทันที 


ข้อคิดหรือบทเรียนจากเรื่องเล่า

ในการติดต่อประสานงานในบางคราวจะเกิดปัญหา ได้จากปัญหาเหล่านี้

1. การให้ข้อมูลที่ล่าช้าเกินไป ในการติดต่อประสานงานกับอีกหน่วยงานหนึ่ง หากเกิดความล่าช้า นั่นอาจจะเป็นเพราะว่ามัวแต่รอข้อมูลจากอีกหลายหน่วยงาม จึงทำให้ข้อมูลที่หน่วยงานเกี่ยวข้องล่าช้าตามไปด้วย  ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ต้องระวัง

2. การรับ-ส่ง ข้อมูลผิดพลาด - การรับและสังข้อมูลรายงานเอกสารที่ผิดพลาด ย่อมนำไปสู่การติดต่อประสานงานที่ไม่รู้จบ คนบางคนยังไม่ทันฟัง กลับด่วนสรุปตามอำเภอใจ หรือคนบางคนเอาเร็วไว้ก่อน ส่งข้อมูลให้ด้วยความรวดเร็ว แต่ข้อมูลที่นำส่งให้กลับพบข้อผิดพลาด

3. เพิกเฉย และหลงลืม  การเพิกเฉย ไม่สนใจว่าเป็นหน้าที่ติดตาม ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ คิดว่าไม่ใช่เรื่อง ไม่ใช่หน้าที่ตนเองที่จะต้องไม่เห็นความจำเป็น หรือไม่เห็นความสำคัญของการติดต่อประสานงาน คิดเสียแต่ว่ารอให้อีกฝ่ายติดต่อมาเองไม่ดีกว่าหรือ  และบางคนยิ่งซ้ำร้ายใหญ่ นัดแล้ว แต่กลับลืมนัดที่รับปากไว้

4. การไม่ได้รับความร่วมมือ มีสาเหตุมาจาก มีความคิดที่แตกต่างกัน มีอคติต่อกัน ไม่ชอบกัน หรือปิดบังข้อมูล ทำให้ไม่เกิดความร่วมมืออย่างจริงจัง


ปัจจัยสู่ความสำเร็จ(Key Success Factor)

เทคนิคที่ดีในการประสานงานให้ได้ใจ มีดังนี้

1. การใช้เครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรศัทท์มือถือ  E-mail Line Facebook

2. ก่อนเริ่มประสาน คิดก่อนว่า เราต้องการอะไร เมื่อไร ที่ไหน อย่างไร ควรติดต่อใคร หน่วยงานใด

3. ควรมีทำเนียบโทรศัพท์ของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้เป็นส่วนตัวและส่วนกลาง

4. เมื่อติดต่อกับผู้ใด ควรจดชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้นั้นไว้ เพื่อใช้ติดต่อในโอกาสต่อไป บางครั้งทำเป็นทำเนียบไว้ในปกแฟ้มเรื่องนั้นๆ จะดีมาก

5. ควรที่จะประสานงานกับคนที่มีระดับเดียวกัน หรือต่ำกว่ากัน

6. ใช้คำพูดสุภาพให้เกียรติคู่สนทนาแม้รู้ว่าเข้ามีตำแหน่งต่ำกว่า ไม่พูดยกตนข่มท่าน

7. หาข้อมุลให้ดีก่อนว่า ผู้ที่เราจะโทรติดต่อ เป็นผู้ใด ตำแหน่งหน้าที่ใด อายุเท่าใดเมื่อสนทนากัน อาจเรียกพี่ น้อง ท่านจะทำให้เขารู้สึกดี

8. การอ่อนน้อมถ่อมตนด้วยความจริงใจ มักเป็นที่เป็นพอใจของผู้อื่น

9. ในการประสานงานครั้งที่ 2 หลังที่เรารู้จักกันแล้ว ทักทายหรือซักถามด้วยความห่วงใย จริงใจ เกี่ยวกับเรื่อง สุขภาพ การงาน

10. กล่าวคำขอบคุณทุกครั้งก่อนจบการสนทนา

11. เมื่อรับปากเรื่องใดไว้ต้องรีบทำ  เช่น เราจะรีบส่งโทรสารไป จะรีบส่งเอกสารไปให้

12. การประสานงานด้วยหนังสือใช้ในกรณีที่เป็นงานประจำที่ทั้งสองหน่วยงานทราบระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว

13. การพบปะด้วยตนเอง  ควรเตรียมหัวข้อหารือไปให้พร้อม และจดบันทึกไว้ เตรียมพิมพ์รายการ/รายละเอียดไปล่วงหน้า เพื่อให้เขามีบันทึกช่วยจำ และใช้สั่งการขั้นต้นแก่บุคลากรในหน่วยงานของเขาได้ 

วันที่พิมพ์:2024-05-02 22:25:00